top of page
ARS01227-2_edited.jpg

อาหารและโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ
ที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เฮลท์ แอท โฮม

          สูงอายุแล้วทานอะไรดี? เป็นคำถามที่พบบ่อยมาก และผู้สุงอายุแต่ละท่านก็มีโรคประจำตัวที่แตกต่างกัน แต่จะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ได้ดังนี้ค่ะ

          ผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ตามธรรมชาติเช่น ฟันโยก ต่อมรับรสที่ลิ้นได้น้อยลง กล้ามเนื้ออ่อนแรงการกลืนลำบาก มีปัญหาสำลักเป็นต้น อีกทั้งอาจจะมีในเรื่องของโรคประจำตัวที่ต้องทำให้จำกัดอาหาร เกิดความเบื่ออาหาร มีอาการท้องอืดจากการขยับตัวได้น้อย สาเหตุเหล่านี้มีผลกระทบต่อการรับประทานอาหาร และทำให้ผู้สูงอายุทานอาหารได้น้อย ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ส่งผลให้การฟื้นฟูสุขภาพเป็นไปได้ช้า สุขภาพแย่ลงได้

หลักในการจัดอาหารสำหรับผู้สูงอายุ

  • โภชนาการ อาหารให้พลังงานพอเหมาะ แต่มีสารอาหารเยอะ

  • ลักษณะอาหาร เคี้ยวกลืนได้ง่าย ย่อยได้ง่าย อ่อนนุ่ม

  • การนำเสนอ น่ารับประทาน สีสันสวยงาม อุณหภูมิเหมาะสม กลิ่นหอม

  • รสชาติ ไม่จัดมาก อาจใช้เครื่องเทศ สมุนไพร ช่วยเพิ่มกลิ่นและรส

  • สุขอนามัย อาหารสะอาด การเตรียมอาหารถูกสุขลักษณะ มีอนามัยที่ดี

  • โรคประจำตัว สอดคล้องกับแผนการรักษาของแพทย์
     

          หากผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้น้อย ทำให้ได้สารอาหารไม่เพียงพอต่อวัน อาจจะเสริมเป็นอาหารทางการแพทย์  ใช้เพื่อเสริมมื้ออาหารแก่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถได้รับพลังงานและสารอาหารเพียงพอจากอาหารทั่วไป หรือใช้เป็นอาหารที่ให้ผ่านสายให้อาหาร

          อาหารทางการแพทย์มีสารอาหารหลัก (คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน) และสารอาหารรอง (วิตามิน แร่ธาตุ) ครบถ้วน ปัจจุบันมีหลากหลายยี่ห้อโดยมีการดัดแปลงสูตรเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีสภาวะของโรคที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแล รวมถึงนักกำหนดอาหาร เพื่อประเมินความต้องการพลังงานและสารอาหาร แล้วนำมากำหนดปริมาณการใช้อาหารทางการแพทย์ให้เหมาะสม แต่ถ้าผู้สูงอายุสามารรับประทานอาหารได้ ไม่มีโรคประจำตัวหรืออาการใด ๆ ที่ทำให้กินข้าวได้น้อยลง ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้

มุมจัดอาหาร ผู้สูงอายุ

          ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุของเราคำนึงในเรื่องของอาหารเป็นอย่างยิ่ง เพราะการรับประทานอาหารให้ได้เพียงพอจะเป็นกำลังในการช่วยฟื้นฟู และซ่อมแซมส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่อแรกเข้าเรามีแพทย์และพยาบาลตรวจและประเมินร่างกาย นำมาวางแผนการดูแลกำหนดในเรื่องของอาหารว่าร่างกายต้องเสริม หรือลดอะไรบ้าง ให้ได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ คือ วันละ 1,500 - 2,000 กิโลแคลอรี    จัดอาหารให้ครบ 5 หมู่มีความหลากหลาย วันละ 3 มื้อ มีอาหารว่าง 2 มื้อ โดยทุกมื้อมีผักผลไม้เพิ่มกากใยอาหาร และกระตุ้นดื่มน้ำเพื่อป้องกันภาวะท้องผูกด้วย

Image from iOS (205).jpg

          ทางทีมดูแลจะมีการจดบันทึกปริมาณอาหารและน้ำที่ได้รับเพื่อติดตามอาการทุกวัน  รวมถึงการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สุงอายุ  เรามีการดูแลให้แปรงฟัน/ บ้วนปาก  และตรวจสุขภาพฟันทุกวัน เนื่องจากผู้สูงอายุหากมีฟันผุ เหงือกอักเสบ จะทำให้ความอยากอาหารลดลง และเกิดการติดเชื้อได้

พื้นที่เตรียมอาหาร ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เฮลท์ แอท โฮม
พื้นที่ทานอาหาร ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เฮลท์ แอท โฮม

          ในส่วนของการจัดเตรียมอาหารก็มีความสำคัญ เราได้จัดให้บริเวณที่เตรียมอาหารเป็นสัดส่วน แยกของใช้แก้วน้ำ เหยือกนำเป็นรายบุคคล มีการทำความสะอาดของใช้ทุกวัน พร้อมอุปกรณ์ไฟฟ้าไมโครเวฟ ตู้เย็น กาน้ำร้อน เพื่อช่วยถนอมอาหาร และอุ่นร้อนสำหรับเตรียมอาหารให้ผู้สุงอายุ  รวมทั้งห้องรับประทานอาหารที่ออกแบบให้พร้อมใช้ทั้งผู้สูงอายุทั่วไป และผู้สุงอายุที่ต้องนั่งรถเข็น โดยใช้เฟอร์นิเจอร์โต๊ะโค้งเว้า แสงสีที่สบายตา กระตุ้นให้อยากรับประทานอาหาร

หากท่านกำลังมองหาศูนย์ที่ไว้ใจได้ เพื่อดูแลคนที่ท่านรัก 

สามารถ สอบถามข้อมูล เยี่ยมชมสถานที่ ของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เฮลท์ แอท โฮม 

ได้ตลอดทุกวัน โทร. 02-080-3936 ต่อ 9 หรือ แอดไลน์โดยปุ่มด้านล่างค่ะ

พยบ.รัชดาภรณ์ หงษ์ทอง 

พยบ.รัชดาภรณ์ หงษ์ทอง 

พยาบาลวิชาชีพ จบปริญญาโททางด้านการดูแลผู้สูงอายุ (Gerontology)

ที่จุฬาลงกรณ์ นอกจากนั้นยังมีประสบการณ์ในการทำงานดูแลผู้สูงอายุมานานกว่า 10 ปี

แชร์บทความนี้

bottom of page